29 พฤศจิกายน 2555

กิจกรรมที่ 2



รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

1.ประเด็นที่น่าสนใจ
  จากการที่ได้ศึกษารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมา ทุกๆประเด็นมีประเด็นที่น่าสนใจหลายประเด็นที่ส่งผลประโยชน์ให้ประเทศชาติ บ้านเมือง และประชาชนได้อยู่เย็นเป็นสุข ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจมากที่สุดมีดังต่อไปนี้
              1. การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างเต็มที่  เพิ่มสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้กว้างขวางมากขึ้นกว่าเดิม ทำให้การใช้สิทธิและเสรีภาพง่ายขึ้น มีประสิทธิภาพ และมีมาตรการคุ้มครองอย่างชัดเจน รวมทั้งทำให้แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐมีความชัดเจนและผูกพันรัฐมากกว่าเดิม และปรับปรุงการกระจายอำนาจให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
              2. การลดการผูกขาดอำนาจรัฐ และการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม  แต่เดิมนั้น รัฐหรือฝ่ายบริหารมีอำนาจมากเกินไป การตรวจสอบฝ่ายบริหารเป็นไปได้ยาก และมีการเข้าไปแทรกแซงการทำงานของระบบข้าราชการประจำ เช่น การแต่งตั้งโยคย้าย เลื่อนตำแหน่ง ฯลฯ ดังนั้นร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จึงพยายามลดการแทรกแซงข้าราชการลง และให้การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลและคณะรัฐมนตรีเป็นไปได้ง่ายขึ้น
              3. การทำให้การเมืองมีความโปร่งใส มีคุณธรรมและจริยธรรม  โดยการเพิ่มหมวด คุณธรรม จริยธรรมขึ้น ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ซึ่งมีการกำหนดไว้ชัดเจนว่า หากมีการฝ่าฝืนบทบัญญัติในหมวดคุณธรรม จริยธรรม จะถือว่าเป็นความผิด ซึ่งหากเป็นข้าราชการก็จะเป็นความผิดทางวินัย หากเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในกรณีที่ร้ายแรงก็สามารถถอดถอนออกจากตำแหน่งได้ การกำหนดมาตรการเพื่อไม่ให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อนทางการเมือง โดยกำหนดให้นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี ต้องไม่เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นของบริษัท ตามจำนวนที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งครอบคลุมถึงคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะด้วย
               4. การทำให้ระบบตรวจสอบมีความเข้มแข็ง และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบให้มีความเข้มแข็ง ไม่ถูกแทรกแซง และมีประสิทธิภาพในการตรวจสอบมากยิ่งขึ้น อาทิ ปรับปรุงระบบการสรรหาองค์กรตรวจสอบเพื่อให้มีความอิสระ และเหมาะสมกับบทบาทหน้าที่ของแต่ละองค์กร การจัดให้มีระบบการตรวจสอบการทำงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการปรับปรุงอำนาจหน้าที่และระบบการทำงานขององค์กรตรวจสอบให้ดียิ่งขึ้น




2.สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง
หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
ส่วนที่ 8 สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา
·                    มาตรา 49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐ
จะต้อง จัดให้อย่าง   ทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพหรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบากต้องได้รับสิทธิตามวรรค หนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐ เพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่นการจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ

มาตรา 50 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ
การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ย่อมได้รับความคุ้มครองทั้งนี้เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน

3.ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง
               1. รัฐสภา  เช่น รัฐสภาประกอบด้วยอะไรบ้าง
               2. สภาผู้แทนราษฎร   เช่น  สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมดกี่คน  ผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งต้องมีคุณสมบัติอย่างไร  บุคคลใดบ้างที่ห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง  คุณสมบัติของผู้ที่ต้องการสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นอย่างไร เป็นต้น
              3. สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา  เช่น  บุคคลย่อมมีสิทธิในการศึกษาไม่น้อยกว่ากี่ปีตามที่รัฐจัดให้โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
              4.วุฒิสภา  เช่น  วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมดกี่คน   คุณสมบัติใดบ้างที่สามรถมีสิทธิในการสมัครรับเลือกตั้งหรือได้รับการเสนอชื่อเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา
              5. สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิ์การจากรัฐ  เช่น  บุคคลที่มีอายุเกินกี่ปีที่ไม่มีรายได้เพียงพอต่อการยังชีพ  ที่มีสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ
4.ทำไมเราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

            เราต้องมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเพราะรัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือสนับสนุนระบอบการปกครอง ไม่ว่าจะปกครองด้วยระบบใดก็ตาม ในระบอบประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญจะเป็นเครื่องมือจำกัดอำนาจของรัฐและผู้ปกครองให้อยู่ภายในขอบเขต จัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันทางการเมืองการปกครอง กำหนดบทบาทในการตรวจสอบถ่วงดุลกัน และส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน ส่วนระบบเผด็จการ รัฐธรรมนูญก็เป็นเครื่องมือในการกำกับแนวปฏิบัติของรัฐ ผู้ปกครองและประชาชนให้เป็นไปตามอุดมการณ์ทางการเมือง
5. นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ  เพราะเหตุใดที่จะต้องแก้ไขและทำไมมีประชาชนบางกลุ่มคัดค้าน  ขอให้นักศึกษาบอกเหตุผลที่จะต้องแก้ไข
ในความคิดของดิฉัน ไม่เห็นด้วยกับการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะเป็นความประสงค์ของนักการเมืองที่จะแก้การกระทำความผิดที่เกิดขึ้นแล้วให้ถูกต้อง ซึ่งรับไม่ได้ในทางกฎหมาย หากยอมให้คนทำผิดแก้กฎหมายให้ตัวเองพ้นผิด ระบบกฎหมายของประเทศจะถูกท้าทายและพังทลายเป็นสาเหตุทำให้ประชาชนบางกลุ่มออกมาประท้วง


6. ปัจจุบันการปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง 3 อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน      และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร สภานิติบัญญัติ มีภาวะที่จะต้องดำรงอยู่อย่างไร   มีความมั่นคงที่จะความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่ ขอให้นักศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว
 ราชการของประเทศไทยในทุกวันนี้ ดำเนินไปในลักษณะที่เป็นงานประจำ และฝากไว้กับระบบข้าราชการเป็นสำคัญ ส่วนงานอำนวยการหรืองานรัฐบาลนั้นก็อยู่ในสภาพที่ชะงักงันเพราะสภาผู้แทนที่ต้องรับผิดชอบกลับไม่มีอำนาจทางการเมือง และกลุ่มข้าราชการประจำที่มีอำนาจทางการเมืองกลับไม่ต้องรับผิดชอบสภาพปัญหาต่าง ๆและในเวลานี้ความคิดความเข้าใจในหลักการปกครองของระบอบประชาธิปไตยกำลังเสื่อมคลายและถูกทำลายไปตามปัญหาเฉพาะหน้าและความต้องการเฉพาะกลุ่มอยู่ทุกขณะ ซึ่งถ้ารัฐบาลไม่ทบทวนยึดมั่นไว้ให้ถูกต้องแล้ว ความเคลื่อนไหวในลักษณะที่เป็นปฏิปักษ์กับระบอบประชาธิปไตยก็จะสามารถได้รับชัยชนะยึดครองทั้งระบบรัฐบาล และระบบความคิดไปได้โดยสิ้นเชิงในที่สุด 


9 พฤศจิกายน 2555

กิจกรรมที่ 1


ให้นักศึกษาค้นหาคำนิยามที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายหาให้มากที่สุดแล้วเขียนลงในกิจกรรมที่ 1 ของนักศึกษาอย่างน้อยคนละ 10 ชื่อ

  • "กฎหมาย"

            กฎหมาย หมายถึง บรรทัดฐานที่กำหนดไว้ในระเบียบแบบแผน ซึ่งผู้มีอำนาจทางการปกครองบ้านเมืองได้กำหนดขึ้น เพื่อบังคับให้บุคคลปฏิบัติตามหรือห้ามมิให้กระทำ หากฝ่าฝืนจะถูกลงโทษตามบทบัญญัติ

  • "คดีแพ่ง"

           คือคดีที่มีการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลตามกฎหมายแพ่งเช่นการฟ้องร้องให้ชดใช้ค่าเสียหายหรือให้ชำระค่างวดเช่าซื้อ,สัญญาเงินกู้ หรือเป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนดให้บุคคลใช้สิทธิตามกำหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิของตน

  • "คดีอาญา"

            เป็นคดีที่เกี่ยวกับเรื่องสิทธิเสรีภาพ ชีวิตและร่างกาย ทรัพย์สิน

  •  "การสืบสวน"

           การแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานซึ่งพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน และเพื่อที่จะทราบรายละเอียดแห่งความผิด
  • "นิติบุคคล"

            ไม่ใช่บุคคลธรรมดามีสถานะเป็นองค์กรห้างหุ้นส่วนจำกัดบริษัทสมาคมหรือวัดก็มีสถานะเป็นนิติบุคคล
  • "นิติกรรม"

            การใด ๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอนสงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ
  • "บรรทัดฐาน"

            ค่านิยมที่ยึดถือต่อกันมา

  • "บุคคลล้มละลาย"

            เป็นผู้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวเกินกว่าหนึ่งล้านแล้วถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลาย

  • "การสอบสวน"

               การรวบรวมพยานหลักฐานและการดำเนินการทั้งหลายอื่นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหา เพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิดและเพื่อจะเอาตัวผู้กระทำผิดมาฟ้องลงโทษ

  • "โจทก์"

          หมายความถึงพนักงานอัยการ หรือผู้เสียหายซึ่งฟ้องคดีอาญาต่อศาลหรือทั้งคู่ในเมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกัน

  • "จำนอง"

           สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้จำนองเอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับจำนองเป็นประกันการชำระหนี้ โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจำนองผู้รับจำนองชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญมิพักต้องพิเคราะห์ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะได้โอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือหาไม่
  • "จำนำ"

           สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้จำนำส่งมอบสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับจำนำเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้

  • "หมิ่นประมาท"

           ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง

  • "สินไหมทดแทน"

                   การชดใช้ค่าเสียหาย

ที่มา  : รับฟังความคิดเห็นด้านกฎหมายไทย Lawamendment ร่างกฎหมายใหม่ กฎหมายที่บังคับใช้ในปัจจุบัน(ออนไลน์) สืบค้นจาก   http://www.lawamendment.go.th/   [ 9 พฤศจิกายน 2555 ]

    5 พฤศจิกายน 2555

    Profile

    สวัสดีคะชื่่อนางสาวฐาปนีย์  ยุติมิตรคะ
    ชื่อเล่นใบเฟิร์นนะค่ะ ตอนนี้กำละงเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช คณะครุศาสตร์ หลักสูตรภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 4 เป็นชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชคะ บ้านอยู่ที่อำเภอ พรหมคีรี (หน้า รร.พรหมคีรี) มีน้องชายหนึ่งคนชื่อ ไฟว์คะ เป็นลูกสาวแม่ค้าคะ เป็นคนพูดเก่ง ไม่สวย แต่น่ารัก อยู่ด้วยแล้วอบอุ่น สบายใจคะ
    จบมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย
    คติประจำตัว ทำวันนี้ให้ดีที่สุด เพราะอาจไม่มีพรุ่งนี้ให้แก้ตัว

    10 วิธีแก้ง่วงคะ


    1. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต และหันไปกินอาหารที่มีโปรตีนและเส้นใยสูงแทน เช่นเวลาสั่งข้าวผัด ให้คนขายใส่ข้าวลดลง หรือก๋วยเตี๋ยวก็ใส่ผักเยอะๆ เส้นน้อนๆ
    2. ลดปริมาณอาหารลง เพื่อให้ระบบการย่อยอาหารไม่ต้องทำงานหนักเกินไป และค่อยๆ เปลี่ยนเป็นพลังงานให้คุณ ถ้ากลัวไม่อิ่ม ให้เปลี่ยนไปกินปริมาณน้อยลงแต่ถี่ขึ้น
    3. เดินย่อยหลังมื้อกลางวันประมาณ 5 นาที จะช่วยให้ระบบการย่อยทำงานดีขึ้นในเวลางาน หาโอกาสลุกเดินอย่างน้อยชั่วโมงละครั้งเพื่อให้เลือดไปเลี้ยงสมองและแขนขามากขึ้น
    4. ลองเปลี่ยนมากินอาหารว่างที่มีประโยชน์อย่างไข่ต้ม โยเกิร์ต ธัญพืชต่างๆ (เช่นเมล็ดฟักทอง ถั่ว งา ซึ่งมีส่วนช่วยบำรุงประสาทและทำให้จิตใจแจ่มใส) งานวิจัยจากสหรัฐระบุว่า ถั่วหลายชนิดและเม็ดมะม่วงหิมพานต์มีแบคทีเรียที่สามารถกำจัดเชื้อแบคทีเรียอันเป็นสาเหตุของโรคฟันผุ และยังสามารถประยุกต์ใช้กับโรคอื่นๆ ได้อีก เช่น กำจัดเชื้อโรคที่พบในสิว วัณโรคและโรคเรื้อน
    5. หลีกเลี่ยงของว่างที่มีน้ำตาลสูงหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนทั้งในช่วงสายและบ่าย เพราะยิ่งทำให้คุณเซื่องซึมไปกันใหญ่
    6. เมื่อเริ่มรู้สึกอ่อนเปลี้ย (ง่วงระยะแรก) ลองดื่มน้ำสะอาดแก้วโตสักแก้ว พยายามจิบน้ำเปล่าตลอดวัน หรืออาจดื่มน้ำขิงก็ได้ถ้าอากาศเย็น
    7. เคี้ยวอาหารให้ละเอียดขึ้นเพื่อช่วยให้ระบบการย่อยทำงานดีขึ้น แถมยังช่วยให้คุณอิ่มเร็วขึ้น (ลดความอ้วนได้อีกต่างหาก) มีสมาธิ และผ่อนคลายมากขึ้นด้วย
    8. ถ้าคุณบริโภควิตามินรวมหรือวิตามินบีคอมเพลกซ์อยู่แล้ว ลองกินอาหารเสริมเหล่านี้พร้อมกับมื้อกลางวัน เพื่อให้ประโยชน์จากวิตามินช่วยบรรเทาความง่วงเหงาอีกส่วนหนึ่ง
    9. นอนพักผ่อนให้ได้ 7-8 ชั่วโมงต่อคืน จำไว้ว่าถ้านอนไม่พอตอนกลางคืน ไม่ว่าอะไรก็ฉุดให้คุณตื่นยามบ่ายไม่ได้
    10. การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเป็นอีกทางที่ช่วยเติมพลังการทำงานให้คุณอย่างไม่น่าเชื่อ ทำให้คุณรู้สึกกระปี้กระเปร่า กระตือรือร้น ลองหาเวลาออกกำลังกายให้ได้อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง (ครั้งละไม่ต่ำกว่าครึ่งชั่วโมง) โดยอาจเริ่มจากการวิ่ง ว่ายน้ำ ฝึกโยคะและเดินเร็ว

    แวะเข้ามาได้นะคะ


    มุมกฎหมาย... โดย ณวรัตม์

    หลักกฎหมาย ข้อสอบ บทความ ความเห็นทางกฎหมาย ตลอดจนคดีอุทาหรณ์ เพื่อการใช้งานอย่างรวดเร็ว

    ที่อยู่ตามนี่นะคะ http://portal.in.th/nawarat/pages/15664/

    เชิญคะเชิญ

    http://portal.in.th/nawarat/pages/15664/
    นี่เป็นที่อยู่เว็บไซต์ที่เกี่ยวกับกฎหมายการศึกษาคะ