7 มกราคม 2556

ทดสอบกลางภาคเรียน



คำชี้แจง
ให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้
ทำลงในบล็อกของนักศึกษาเขียนหัวข้อเหมือนอาจารย์ (100 คะแนน)

1.      กฎหมายคืออะไร จงอธิบาย และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่าอย่างไร

ความหมายของกฎหมาย กฎหมายคือข้อบังคับของรัฐาธิปัตย์ ที่บัญญัติขึ้นเพื่อใช้ควบคุมพฤติกรรมของพลเมือง หากใครฝ่าฝืน จะถูกลงโทษ

การบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติ หมายถึง ประชาชนทุกคนจะได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน อันเป็นการปกป้องสิทธิและรักษาผลประโยชน์ของบุคคลไม่ว่าเขาจะเป็นใคร ไม่ว่าเขาจะยากจนหรือร่ำรวยไม่ว่าเขาจะมีการศึกษาสูงหรือต่ำ โดยที่ไม่มีผู้ใดจะได้รับอภิสิทธิ์ในการปฎิบัติตามกฎหมายเหนือผู้ใด เช่น คนจนกับคนรวยต้องปฎิบัติตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน เป็นต้น ความเสมอภาคตามกฎหมาย จัดว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับการปกครองระบอบประชาธิปไตย

2.      การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งรัฐและเอกชน ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด

 ดิฉันเห็นด้วยอย่างยิ่ง เพราะ บุคคลากรเหล่านี้เกี่ยวกับการศึกษาโดยตรง พวกเขาจำเป็นต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ทั้งนี้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจะเป็นหลักประกันความมีมาตรฐานและคุณภาพของการประกอบวิชาชีพ และเป็นการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพครูให้สูงขึ้น ตามที่พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 กำหนดวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษา เป็นวิชาชีพควบคุม ผู้ประกอบวิชาชีพควบคุม ที่จัดการศึกษาในสถานศึกษาปฐมวัย การศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับอุดมศึกษาที่ตำกว่าปริญญาทั้งของรัฐและเอกชนจะต้องได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจากคุรุสภา จึงจะมีสิทธิประกอบวิชาชีพได้

3.      ท่านมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง

 ในการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา มีการดำเนินการในขอบข่ายต่อไปนี้

1. ด้านทุนการศึกษาและทุนในการพัฒนาสถานศึกษา

1.1 สถานศึกษาควรมีการวางแผน รณรงค์ ส่งเสริมการระดมทุนการศึกษาและทุนในการพัฒนาการศึกษา

1.2 จัดทำข้อมูลสารสนเทศ และระบบการรับจ่ายทุนการศึกษา ทุนพัฒนาสถานศึกษาให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้

1.3 จัดทำรายงาน สรุปผลงาน เพื่อเป็นการเผยแพร่เชิดชูเกียรติคุณผู้สนับสนุนทุนการศึกษา กรณีที่มีการบริจาคสนับสนุนในเกณฑ์ที่ราชการกำหนดให้สิ่งตอบแทนต่าง ๆ ควรดำเนินการให้ เช่น การตอบขอบใจหรืออนุโมทนา การขอเครื่องหมายตอบแทนผู้ช่วยเหลือราชการ ฯลฯ

1.4 จัดการด้านการเงินการบัญชี ให้เป็นไปตามระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น การออกใบเสร็จรับเงินแก่ผู้บริจาค การลงรายการในเอกสารต่าง ๆ การควบคุมการใช้จ่ายเงิน

2. ด้านกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาและทุนการศึกษาของราชการ

2.1 สถานศึกษาสำรวจความต้องการและคัดเลือกตามหลักเกณฑ์กำหนด

2.2 ประสานงานการกู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือ ทุนการศึกษาราชการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น ทุนพระราชานุเคราะห์ ทุนเสมาพัฒนาชีวิต

2.3 จัดให้มีผู้รับผิดชอบดูแลการใช้จ่ายเงินทุนของนักเรียน สร้างความตระหนักแก่ผู้ยืมเงินให้ใช้ในประ โยชน์ด้านการศึกษาอย่างแท้จริง

2.4 ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการใช้เงินกองทุน

3. ด้านการจัดการทรัพยากร

3.1 สำรวจและจัดทำข้อมูลทรัพยากรเพื่อการศึกษา

o ข้อมูลบุคลากรทางการศึกษาของสถานศึกษา

o ข้อมูลแหล่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาและชุมชน

o ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น ขนบธรรมเนียมประเพณี

o ข้อมูลบุคลากรหลักที่ให้การสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

3.2 ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันในการจัดการศึกษา

3.3 ยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคลและหน่วยงานที่เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

4. การส่งเสริมการบริหาร การจัดการรายได้และผลประโยชน์ในรูปแบบที่หลากหลาย

4.1 ศึกษาระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการใช้อาคารสถานที่ของสถานศึกษา พ.ศ. 2526 จะเห็นว่าสถานศึกษาสามารถเก็บเงินค่าบำรุงสถานที่ได้หลายกรณี และให้นำเงินที่ได้รับเป็นเงินบำรุงการศึกษาของสถานศึกษาได้ เป็นต้น

4.2 วางแผนการจัดการรายได้และผลประโยชน์ต่าง ๆ

o การให้บริการด้านต่าง ๆ แก่ชุมชน หน่วยงาน

o การขอรับบริจาค การสนับสนุนงบประมาณ

o การจำหน่ายผลิตผลต่าง ๆ ของสถานศึกษา

o การจัดตั้งกองทุน

o การระดมทุน

4.      รูปแบบการจัดการศึกษามีกี่รูปแบบอะไรบ้าง และการศึกษาในระบบมีกี่ระดับประกอบด้วยอะไรบ้าง

ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 กำหนดนั้นแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย

1. การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและการประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน ซึ่งการศึกษารูปแบบนี้จัดในโรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หรือสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเรียกอย่างอื่น สามารถจัดการศึกษาในชั้นเรียนหรือเป็นการศึกษาทางไกล

2. การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่ยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาการศึกษา การวัดและประเมินผลโดยคำนึงถึงความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของแต่ละบุคคล เช่น การศึกษานอกโรงเรียน การฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆ

3. การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส สามารถศึกษาได้จากบุคคล สภาพแวดล้อม สื่อหรือแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ การศึกษาแบบนี้มีความยืดหยุ่น เปิดโอกาสให้ผู้สนใจสามารถเลือกเนื้อหาที่สนใจตรงกับความต้องการของตนเองและสามารถศึกษาในเวลาที่ปลอดจากภารกิจอื่นได้ เช่น การฟังบรรยายพิเศษ การศึกษาจากเอกสาร การเยี่ยมชมการสาธิต การสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตหรือแหล่งเรียนรู้อื่นๆ

การศึกษาในระบบมี 2 ระดับคือ การศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาระดับอุดมศึกษา

1. การศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย การศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่าสิบสองปีก่อนระดับอุดมศึกษา การแบ่งระดับและประเภทของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง การแบ่งระดับหรือการเทียบระดับการศึกษานอกระบบหรือการศึกษาตามอัธยาศัยให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
การศึกษาในระบบที่เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานแบ่งเป็นสามระดับ
1.1 การศึกษาก่อนระดับประถมศึกษา เป็นการจัดการศึกษาให้แก่เด็กที่มีอายุ 3 – 6 ปี
1.2 การศึกษาระดับประถมศึกษา โดยปกติใช้เวลาเรียน 6 ปี
1.3 การศึกษาระดับมัธยมศึกษา แบ่งเป็นสองระดับ ดังนี้
- การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยปกติใช้เวลาเรียน 3 ปี
- การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยปกติใช้เวลาเรียน 3 ปี แบ่งเป็นสองประเภท ดังนี้
1) ประเภทสามัญศึกษา เป็นการจัดการศึกษาเพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
2) ประเภทอาชีวศึกษา เป็นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ หรือ ศึกษาต่อในระดับอาชีพชั้นสูงต่อไป

2. การศึกษาระดับอุดมศึกษาแบ่งเป็นสองระดับ คือ ระดับต่ำกว่าปริญญาและระดับปริญญา การใช้คำว่า "อุดมศึกษา" แทนคำว่า "การศึกษาระดับมหาวิทยาลัย" ก็เพื่อจะให้ครอบคลุมการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรหรืออนุปริญญา ที่เรียนภายหลังที่จบการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้ว

5. ท่านเข้าใจการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร อธิบายและยกตัวอย่างประกอบ

ดิฉันคิดว่า การศึกษาภาคบังคับนั้นต่างจากการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งการศึกษาขั้นพื้นฐานนั้นไม่ได้บังคับให้ประชาชนต้องเข้าเรียนแต่เป็นสิทธิของคนไทย( 12 ปี ) ส่วนการศึกษาภาคบังคับเป็นการบังคับให้เข้าเรียนถือเป็นหน้าที่ของพลเมืองตามมาตรา 69 ของรัฐธรรมนูญ( 9 ปี )

6.      การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 มีการแบ่งส่วนราชการเป็นอย่างไร และมีใครเป็นหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าว อธิบายยกตัวอย่าง

การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ และมีหัวหน้าส่วนราชการดังนี้
1.สำนักงานปลัดกระทรวง
2.ส่วนราชการที่มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีดังนี้
สำนักงานรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

7.      จงบอกเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546

เพื่อใช้เป็นกรอบหรือแนวปฏิบัติให้บุคลากรทางการศึกษาและผู้ที่มีใบประกอบวิชาชีพ

 8.      ท่านเข้าใจหรือไม่ว่า ถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้หรือสอนในสถานศึกษา    ขั้นพื้นฐานเป็นครั้งคราว หรือไปสอนเป็นประจำ หากพิจารณาจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กระทำผิดตาม พรบ.นี้หรือไม่เพราะเหตุใด


ไม่ได้กระทำผิด เพราะในมาตราที่ 53 ตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากร ทางการศึกษา พ.ศ.2546

เว้นแต่กรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา

ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนแต่ในบางครั้งต้องทำหน้าที่สอนด้วย

นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรมหรือผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการสอน ซึ่งทำการฝึกหัดหรืออบรมในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด

ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย

ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในศูนย์การเรียนตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ หรือสถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด

คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาในระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน

ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา

บุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด


 9. ท่านเข้าใจความหมายโทษทางวินัย สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างไร อธิบาย และโทษทางวินัยมีกี่สถาน อะไรบ้าง

โทษทางวินัย สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คือ บทลงโทษที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประพฤติในทางที่ไม่ชอบไม่ควร

โทษทางวินัยมี 5 สถาน ดังนี้

-ภาคทัณฑ์

-ตัดเงินเดือน

-ลดขั้นเงินเดือน

- ปลดออก

- ไล่ออก

 10.ท่านเข้าใจคำว่า เด็ก เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ทารุณกรรม ที่สอดคล้องกับ พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 อย่างไรจงอธิบาย ตามความเข้าของท่าน

เด็ก      คือ        บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส

เด็กเร่ร่อน คือ   เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือมีแต่ไม่เลี้ยงดูหรือไม่สามารถเลี้ยงดูได้ จนเป็นเหตุให้เด็กต้องเร่ร่อนไปในที่ต่าง ๆ หรือเด็กที่มีพฤติกรรมใช้ชีวิตเร่ร่อนจนน่าจะเกิดอันตรายต่อสวัสดิภาพของตน
เด็กกำพร้า คือ เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต เด็กที่ไม่ปรากฏบิดามารดาหรือไม่สามารถสืบหาบิดามารดาได้
เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก คือ            เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือบิดามารดาหย่าร้าง ทิ้งร้าง     ถูกคุมขัง หรือแยกกันอยู่และได้รับความลำบาก หรือเด็กที่ต้องรับภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัยหรือกำลังความสามารถและสติปัญญา หรือเด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด คือ             เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควรเด็กที่ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดีหรืออยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่อันอาจชักนำไปในทางเสียหาย ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวงทารุณกรรม คือ การทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพหรือทำร้ายทางร่างกายหรือทางจิตใจ

1 ความคิดเห็น: